วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อกระต่าย

การเลือกซื้อกระต่าย

1. อันแรกเลย ต้องดูโดยรวมของที่เลี้ยงก่อน ว่ากระต่ายได้รับการดูแลจากร้านดีพอไหม เช่น ที่อยู่สกปรก หมักหมม มีกลิ่นเหม็น ขนเป็นสังกะตังหรือไม่ หากสภาพแวดล้อมไม่สะอาด เราไม่ควรจะซื้อ

2. ตรวจดูตัวกระต่าย ว่ามีบาดแผล สะเก็ด ขนร่วงหรือไม่

3. กระต่ายโดยเฉพาะพันธุ์ขนยาว ควรจะต้องสะอาด ได้รับการแปรงขนอย่างดี ไม่มีปรสิตตามขน

4. ตรวจดูบริเวณก้น ว่ามีท้องเสียหรือไม่

5. ตรวจดูบริเวณหู ควรจะมีสีชมพู สะอาด ไม่มีคราบขี้หู หรือเชื้อรา

6. ตาจะต้องสดใส ไม่เป็นฝ้าขุ่น และขนแถวตาต้องไม่มีร่องรอยของน้ำตาเป็นคราบอยู่

7. ตรวจจมูก จะต้องไม่มีน้ำมูก หรือมีอาการหายใจลำบาก

8. ตรวจฟัน จะต้องไม่ยาว ต้องขบกันได้ไม่มีปัญหา ฟันยื่นฟันเอียง และต้องไม่มีน้ำลายเปียกแถวใต้คาง

9. สังเกตการเคลื่อนไหว ต้องไม่ติดขัด ขาไม่กระเผลก และต้องไม่มีอาการขาเป๋

10 สังเกตอาการตอบสนองของกระต่ายต่อคน หากกระต่ายที่ได้รับการเลี้ยงอย่างดี ดูแล เอาใจใส่มาอย่างดี จะไม่มีอาการหวาดกลัวคนมาก

11. หากกระต่ายตัวไหน มีพ่อแม่ที่ฟันเอียงเก ฟันยาว หรือขาแป อย่าซื้อมาเลี้ยงเพราะอาการเหล่านั้น สามารถถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมได้

12. พยายามซื้อลูกกระต่ายที่หย่านมแล้ว เพราะผู้ขายบางคนจะชอบเอากระต่ายที่ยังเล็ก ยังไม่หย่านมดี เอามาขาย เพื่อหลอกว่าเป็นกระต่ายแคระ ซึ่งต้องระวังด้วย ถ้าจะให้ดีเราควรจะเลือกกระต่ายที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป

 

การขยายพันธุ์กระต่าย


การขยายพันธุ์กระต่าย

อายุของกระต่ายที่พร้อมแก่การผสมพันธุ์

กระต่ายจะเริ่มมีการผสมพันธุ์ตั้งแต่อายุ ? 

            กระต่ายเพศเมีย จะเริ่ม ยอมรับการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาณ 3 เดือนครึ่ง ซึ่งทั้งนี้ % ของการผสมติดจะมีน้อยกว่า กระต่ายที่มีอายุประมาร 4 เดือน – 4 เดือนครึ่ง แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกระต่าด้วย เพราะ กระต่ายสายพันธุ์ ธรรมดา กับกระต่ายสายพันธุ์แคระจะมีการเจริญเติบโตเต็มวัยไม่พร้อมกันซึ่งทางที่ดีเราควรให้กระต่ายของเรานั้น เริ่มการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาร 6-8 เดือนขึ้นไป

เมื่อกระต่ายตั้งท้อง

            แม่กระต่ายจะตั้งท้องประมาร 29 – 35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 31 วัน ในช่วงแรกของการตั้งท้องลูกกระตายจะโตขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้องลูกกระต่ายจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว     ดังนั้นควรให้อาหารที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่าย เมื่อแม่กระต่ายตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ ให้จัดเตรียมรังคลอดที่ปูด้วยฟางหรือหญ้าแห้งใส่ในกรงก่อนคลอด 1 – 2 วัน แม่กระต่ายจะกัดขนปูรังคลอด และคาบวัสดุต่างๆที่เราจัดไว้ให้มาจักใส่รังคลอดใหม่  ส่วนใหญ่แล้วแม่กระต่ายจะคลอดในตอนเช้ามือ และให้ลูกครอกละ 5 – 12 ตัว ลูกกระต่ายแรกเกิดจะยังไม่มีขนขึ้น และยังไม่ลืมตา แม่กระต่ายจะให้ลูกกินนมในตอนเช้าวันละ 1 – 2 ครั้งๆละ 3 – 4 นาที เท่านั้น เมื่ออายุ 10 วันลูกกระต่ายจะลืมตา และมีขนขึ้นเต็มตัว พออายุประมาณ 15 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มออกจากรังคลอดและเริ่มกินหญ้าหรืออาหารแข็งได้ ลูกกระต่ายจะหย่านมเมื่ออายุประมาร 5 – 7 สัปดาห์
          บางครั้งจะพบว่า แม่กระต่ายให้ลูกมากเกินไปทำให้ลูกกระต่ายในครอกนั้นเติบโตช้า ผู้เลี้ยงจึงอาจนำลูกกระต่ายไปฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยงได้ แม่กระต่ายที่จะนำไปฝากจะต้องคลอดห่างกันไม่เกิน 3 วัน และควรฝากเมื่อลูกกระต่ายมีอายุน้อยกว่า 5 วัน โดยนำกระต่ายที่จะฝากไปถูกับขนของแม่กระต่ายที่จะรับฝากเลี้ยงแล้วนำไปรวม กลุ่มกับลูกกระต่ายที่มีอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ไม่มีแม่กระต่ายให้ฝากเลี้ยงอาจนำลูกกระต่ายมาเลี้ยงเองก็ได้ โดยใช้อาหารแทนนมดังตารางที่ 3 ส่วนขวดนมก็อาจใช้หลอดฉีดขนาดเล็กหรือหลอดยาหยอดตา โดยที่ปลายของหลอดมีสายยางขนาดเล็กต่อสวมไว้ เพื่อให้ลูกกระต่ายดูดนมจากหลอดได้
  
สาเหตุต่างๆที่อาจจะทำให้ลูกกระต่ายตาย

- แม่กระต่าย เด็กเกินไป

กระต่าย นั้นจะเริ่ม รับการผสมพันธุ์ตั้งแต่ อายุประมาณ 3 เดือนครึ่ง แต่เขาจะมี % ในการผสมพันธุ์ติด ในอายุประมาณ 4 เดือน

ถึง 4 เดือนครึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ กับสายพันธุ์กระต่าย ของแต่ะสายพันธุ์ และก็ สภาพแวดล้อม ที่เราเลี้ยง ยิ่งถ้าสภาพแวดล้อมดี เลี้ยงดี อาหารคุณภาพดี ก็มีผลทำให้กระต่าย มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่นิยม ให้ผสมพันธุ์กันในช่วงนี้  เราควรผสมพันธุ์กระต่าย เมื่อเขาอายุประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะว่า กระต่ายยังโตไม่เต็มที่ลูกที่คลอดออกมาอาจจะตายได้ เนื่องจากความไม่พร้อมของแม่กระต่าย

- แม่กระต่ายไม่ยอมเลี้ยงลูก

ถ้าแม่กระต่ายเด็ก และ ยังไม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูก ก็อาจจะทำให้ แม่นั้นไม่เลี้ยงลูก หรือ ไม่มีน้ำนม มาเลี้ยงลูกได้ โดยกระต่ายที่ไม่ได้รับน้ำนม ลูกก็ จะผอมลงเรื่อยๆ เราสามารถนำลูกกระต่ายไปฝากแม่กระต่ายตัวอื่นเลี้ยงแทนได้  หรือไม่ก็จับลูกกระต่ายกินนมแม่ของเขาเอง(ถ้าแม่กระต่ายมีน้ำนม)

- ไม่ได้แยกตัวผู้

เราควรจะแยกตัวผู้ออกจากแม่กระต่าย ควรแยกในขณะที่ผสมพันธุ์ติดแล้วหรือ แม่กระต่ายตั้งท้อง เพราะเมื่อกระต่ายคลอดลูก กระต่ายตัวผู้อาจจะไล่ผสมอีกแล้ว อาจจะทำให้ ทั้งแม่และพ่อกระต่าย เหยียบลูกกระต่ายจนอาจจะตายได้ และอีกทั้งตัวผู้จะไปรบกวนแม่กระต่ายจนทำให้แม่กระต่ายนั้นเครียดได้  ซึ่งในช่วงนี้กระต่ายต้องการความสงบ มาก ดังนั้นถ้ากระต่ายคลอดลูกเราควรที่จะ แยกตัวผู้ออกมา เลี้ยงแยกก่อน

- กระต่ายไม่เลี้ยงลูกจริงหรือ ?

กระต่ายจะใช้เวลาในการเลี้ยงลูกเพียงไม่กี่นาที ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะไม่เห็นเขา เพราะว่าส่วนมากจะ ให้นมลูกในเวลาเช้ามืด เราไม่ควรไปรบกวนแม่กระต่ายในเวลาที่ให้นมลูก เราสามารถรู้ได้โดยดูจากท้องกระต่าย ถ้ากระต่ายผอมลงก็แปลว่า แม่กระต่ายมีนมไม่พอกับลูกกระต่าย หรือไม่ก็แม่กระต่ายไม่มีนม ส่วนมากจะเป็นกับกระต่ายที่คลอดลูกในคลอกแรกๆ

- การเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อม

เราควรเตรียมตัวให้ดีตั้งแต่แม่กระต่ายท้องเลยเมื่อแม่กระต่ายท้อง เราควรแยกตัวผู้ออก จากตัวเมียและก็เตรียมรังคลอดให้กับแม่กระต่าย เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ซึ่งในขณะที่แม่กระต่ายท้องนั้น เราควรให้อาหารและน้ำเพียงพอ เพื่อความสมบูรณ์ของลูกกระต่ายที่อยู่ในท้อง ในระยะที่แม่กระต่ายท้อง หรือท้องแก่ แม่กระต่ายอาจจะกินน้อยลง แต่เมื่อแม่กระต่ายนั้นคลอดลูกออกมาแล้ว แม่กระต่ายก็จะเริ่มกิน อาหารเยอะขึ้นเหมือนเดิม ให้เราค่อยๆเพิ่มอาหารไม่ควรให้อาหารกระต่ายมากเกินไป

- ขาดการดูแล

เราควรดูแลแม่กระต่ายอย่างใกล้ชิดคอยตรวจดูว่า มีลูกกระต่ายตายอยู่ในรังหรือป่าว ถ้าเกิดพบว่ามีก็ให้ หยิบออก เพราะว่าถ้าปล่อยไว้ลูกกระต่ายตัวที่ตายจะเน่าได้ อาจจะทำให้มดขึ้น และมดอาจจะกัดลูกกระต่ายตัวอื่นตายได้  เราไม่ควรไปรบกวนแม่กระต่ายบ่อยๆ เพระาว่าอาจจะทำให้แม่กระต่ายเครียด และไม่เลี้ยงลูกได้
 

 

โรคต่างๆของกระต่ายและการป้องกัน


โรคต่างๆของกระต่ายและการป้องกัน

โรคพิซเชอร์  
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ    แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด
อาการ    ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา   ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน   

ฝีดาษ และ โรคเนื้องอก
โรคฝีดาษกระต่าย
โรคนี้มักเกิดกับกระต่ายก่อนหย่านม และ อาจจะทำให้อัตราการตายของ กระต่ายนั้นสูง โรคนี้เมื่อพบเจอแล้วการระบาด ค่อยข้างยากค่ะ แต่ก็ยังสามารถระบาดได้เหมือนกันค่ะ ซึ่งเราควรที่จะป้องกันไว้ก่อน โดยการพากระต่ายนั้น ไปฉีดวัคซีนค่ะ


โรคเนื้องอก
โรคนี้อาจจะเกิดจาก การติดเชื้อจากสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส เช่นยุงและแมลง ค่ะ ซึ่งโรคนี้ สามารถเกิดได้กับ กระต่าย เล็กและ กระต่ายที่โตแล้วค่ะ โดยกระต่ายเล็ก ถ้าเจอ อาจจะเห็นเป็น ตุ่มเล็กๆ ค่ะ การรักษาควรรีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์


โรคบิด   
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย   ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ
การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ   ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา  เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )

 
โรคสแตฟฟิลโลคอคโคซีส

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus)
ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

  • ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูด เปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
  • เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดแยกไว้ และควรรีบปริกษาสัตวแพทย์ด่วน
  • การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
     
ฝีและหนองใต้ผิวหนัง
ฝี – หนองใต้ผิวหนังลักษณะอาการ คือการเกิดหนองตามอวัยวะต่างๆ นั้นส่วนมากจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus)  แต่ในส่วนที่เป็นหนองแล้วนั้น จะสามารถเห็นได้ชัดเจนคือ เยื่อ ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังนั้นบวม แต่จะไม่เป็นก้อนแข็งๆ

วิธีการรักษา สามารถรักษาได้โดยการผ่าส่วนบริเวณที่เป็นหนอง และ ให้บีบหนองออก แล้วจึงใช้ขี้ผึ้งซึ่งเป็นยา ปฏิชีวนะ จำพวกเพนนิซิลลิน หรือ พวก สเตรปโตมัยซินทาตามทีหลัง แต่ ถ้าเพื่อนๆ เจออาการ ประเภทนี้

ขอแนะนำ ว่าควรพาไปหาหมอจะดีกว่าค่ะ เพระาว่า กระต่ายเป็นสัตว์ที่ แพ้พวกสารพิษได้ง่าย ยาที่เราเอามาทานั้น ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่านะค่ะ

 
โรคพาสเจอร์เรลโลลิส
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) 
ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ดังนี้

  • หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก 
          รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี(Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์

  • ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง  ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 %    ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
  • ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
          การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย

  • อัณฑะอักเสบ  เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
  • มดลูกอักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่
          การรักษา ทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง
 

โรคหวัด และ โรคปอดบวม
โรคหวัด
เกิดจาก
แบทีเรีย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อที่บริเวณ โพรงจมูก โดยอาจจะติดเชื้อได้จากสัตว์มีที่เชื้อโรคอยู่แล้ว หรือ อาจจะติดเชื้อที่ปะปนมากับอากาศ

อาการ คือ จะมีน้ำมูก หรือหนองเกิดขึ้นที่บริเวณจมูก ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ เชื้อที่ได้รับ คือ ถ้ากระต่ายได้รับเชื้อมากก็ ก็จะมีอาการมากกว่า ตัวที่ได้รับเชื้อน้อย รวมทั้งสภาพความสมบูรณ์ของกระต่ายด้วย คือ ถ้ากระต่ายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมี ภูมิต้านทานดี ก็อาการ็จะน้อยลง

โรค ปอดบวมโรคปอดบวมเป็นโรคที่เกิดขึ้นที่บริเวณส่วนการหายใจ ตอนบนซึ่ง ซึ่งต่อมาอาจจะมีการแพร่กระจายลงสู่ปอดจึงทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งโรคปอดบวมมีส่วนทำให้กระต่ายตายอยู่มาก
อาการ ของกระต่ายที่เป็นโรคนี้ก็  คือระบบการหายใจจะบกพร่อง คือ การหายใจจะติดขัด มีอาการซึม มีน้ำมูกไหลและอุณหภูมิในร่างการสูงจนเกินไป ซื่งเมื่อเราสังเกตที่ปอดของเขาจะมีลักษณะ เป็นสีแดง และ อาจจะแข็งเป็นสีม่วง และอาจจะมีหนองเกิดขึ้นที่ส่วนของปอด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็เหมือนกันกับโรคหวัด
สาเหตุ ของการเกิดโรคทั้งสอง สาเหตุหลักๆของการเกิดโรคทั้งสองนี้ก็ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์อื่นๆที่เป็นโรคนี้หรือว่า มีเชื้อ ของโรคนี้อยู่ หรือ อาจจะเกิดจากความเครียด ซึ่งอาจจะทำให้อุณหภูมิ และ ความชื้นของร่างกาย นั้นสูง จึงทำให้เป็นโรคหวัด หรือ โรคปอดบวมได้ง่าย
ซึ่งถ้ากระต่ายที่ไม่มีความสมบูรณ์ หรือ ภูมิต้านทานโรคที่ดีแล้ว ก็อาจจะเป็นโรคพวกนี้ได้ง่าย

 

หูอักเสบ และ เยื่อตาขาวอักเสบ
หูอักเสบ
เกิดจาก การติดเชื้อของ หูชั้นกลาง และ อาจจะทำให้โพรงหูชั้นการนั้นติดเชื้อและเป็นหนอง ซึ่ง ถ้าเชื้อได้แพร่กระจายเข้าไป ทางด้านหูชั้นใน อาจจะทำให้ กระต่ายนั้นเป็นโรคเสียสมดุล และ เป็นโรค คอเอียง

การรักษา ควรจะพาไปพบแพทย์ เมื่อ ได้กลิ่นเหม็นภายในหูของกระต่าย หรือเมื่อ รู้ว่าหูนั้นมีอาการอักเสบ หรือ เป็นหนอง
การรักษา อาจจะทำได้ยาก เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่ค่อนข้างมองเห็นไม่ค่อยชัด

เยื่อตาขาวอักเสบ
เกิดจาก การติดเชื้อบริเวณรอบๆ ดวงตา หนังตา ซึ่งอาจจะมีอาการบวม และอาจจะมีของเหลวที่รอบๆดวงตา

การรักษา เมื่อพบเห็นว่ามีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ หรือ พาไปพบเพทย์

มดลูกอักเสบ – ลูกอัณฑะอักเสบ
มดลูกอักเสบ ( Pyometra or Metritis )
โรคนี้จะเกิดจาก
เชื้อพาสเจอเรลล่า ซึ่งทำให้ผนังของมดลูกนั้นเป็นหนอง และอาจจะเกิดการพองตัวขึ้นซึ่งกระต่ายที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ ซึ่งการติดเชื้อนั้น อาจจะติดมาจากเวลา หรือ ช่วงขณะที่ผสมพันธุ์ และอาจจะติดตัวผู้อีกด้วย ซึ่งการใช้ยาสำหรับโรคนี้อาจจะยังไม่ได้ผลเท่าใหร่นัก เนื่องจากระต่ายที่ติดเชื้อนั้นสามารถสังเกตได้ยาก เมื่อกระต่ายนั้นตายไปแล้ว และ ได้ตรวจพบภายหลัง


ลูกอัณฑะอักเสบ ( Orchitis )อาจจะติดเชื้อมาจากกระต่ายตัวเมีย หรือไม่ถ้า กระต่ายตัวผู้ที่เป็น ถ้านำไปผสมพันธุ์อาจจะนำเชื้อไปติดให้กับกระต่ายตัวเมีย เช่นกัน ซึ่งเชื้อที่เกิดจะอยู่บริเวณของ ลูกอัณฑะ ส่วนมากจะสังเกตได้ยาก




การป้องกัน

การป้องกันโรคของกระต่ายทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่

 1. เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง

 2. ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

 3. หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น
 
4. ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้


                    






วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนะนำวิธีเลี้ยงกระต่ายอย่างถูกต้อง


แนะนำวิธีเลี้ยงกระต่ายอย่างถูกต้อง

       สำหรับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงกระต่าย !!! อย่าเลี้ยงกระต่ายเป็นแฟชั่น ให้เลี้ยงเพราะว่าอยากจะเลี้ยง อย่าคิดเพียงว่าเป็นแค่สัตว์เล็กที่เลี้ยงง่ายเท่านั้น ก่อนนำมาเลี้ยงควรพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างประกอบด้วย เพราะกระต่ายต้องการการดูแลอย่างถูกวิธี อีกทั้งเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิตสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทำให้เขาต้องจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร หรือเบื่อแล้วปล่อยทิ้งขว้างไม่ไยดี จะเป็นการสร้างบาปกรรมให้กับผู้เลี้ยงมากกว่า....

สัตวแพทย์หญิง ลลนา เอกธรรมสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet) โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูกระต่ายอย่างถูกวิธีมาฝากว่า "นอกจากสุนัขและแมวแล้ว กระต่ายถือเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่คนสนใจ สังเกตได้ว่ากลุ่มของคนเลี้ยงกระต่ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน และรู้สึกดีที่เห็นคนหันมาเลี้ยงกระต่ายมากขึ้น ความจริงแล้วธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้อายุไม่ยืนนัก อายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงยาก เลี้ยงได้เหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป เพียงแต่ต้องทราบว่าเขาต้องการอาหารและสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะสม"


"ธรรมชาติของกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แพร่พันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว ออกลูกครอกหนึ่งประมาณ 6-10 ตัว ถ้าไม่ต้องการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ก็ควรทำหมันเสีย ไม่เช่นนั้นภายในหนึ่งปีจะมีจำนวนมากทีเดียว กระต่ายเป็นสัตว์สุภาพ ชอบอยู่เงียบ ๆ เป็นฝูง อาหารส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าและอาหารเม็ด"
       "การเลี้ยงควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เสริมผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้ามีประโยชน์กับกระต่ายมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพและการขับถ่าย ช่วยในการลับฟันตลอดจนป้องกันปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับฟัน นอกจากนี้ในฤดูฝนและหนาวกระต่ายจะเป็นหวัดและปอดบวมง่าย มีปัญหาเรื่องผิวหนัง ความอับชื้นและเชื้อรา ส่วนฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่อง Heat Stroke หรือการช็อคจากความร้อน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่และดูแลเขาเป็นพิเศษในฤดูกาลต่าง ๆ"



สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

1.ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์
   ให้ผู้เลี้ยงควรสังเกตกระต่ายเป็นประจำด้วยว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นไม่ดื่มน้ำ ไม่กินอาหาร ขนร่วง ซึม เป็นแผล มีขี้มูกขี้ตา บางตัวอาจเป็นไรในหู คือขี้หูรวมตัวเป็นแผ่นหนา ซึ่งกระต่ายจะคันมาก หรือในกรณีที่กระต่ายเป็นตาฝ้า ลูกตามีหนองอยู่ข้างใน หรือมีน้ำตาไหล อาจเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ขนทิ่มตา ท่อน้ำตาตัน ฝุ่นผงควัน ฯลฯ ก็ไม่ควรปล่อยไว้ควรพามาให้สัตวแพทย์ตรวจหาความผิดปกติเพื่อรักษาได้ทันการณ์

2.อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด ให้สัมผัสอย่างเบามือ
   เพราะบริเวณหูมีเส้นเลือดเยอะมาก หากไปหิ้วหูจะทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นฉีกขาด หูจะช้ำ การจับที่ถูกต้องคือให้จับบริเวณหนังด้านท้ายทอยและช้อนก้นเพื่อช่วยรองรับน้ำหนัก

3.ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ
   สถานที่เลี้ยงต้องไม่ร้อนจัด ไม่ชื้นแฉะ ลมไม่พัดแรง มีอากาศถ่ายเทสะดวก กรงต้องสะอาดและการให้อาหาร การเปลี่ยนน้ำต้องสะอาดเสมอ สิ่งสำคัญควรปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง จะทำให้เขามีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสและไม่เหงาเกินไป

4.ควรให้อาหารที่เหมาะสม
   ควรให้หญ้าแห้งกับหญ้าสดเป็นหลัก อย่าให้อาหารประเภทขนมที่เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพราะจะเกิดผลเสียกับกระต่าย 

5.ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง
   การเลี้ยงกระต่ายควรต้องระวังโรค เพราะจะมีโรคทั้งที่คนติดจากสัตว์และโรคที่สัตว์เป็นแล้วไม่ติดคน สำหรับโรคที่พบในกระต่ายส่วนใหญ่ จะมีโรคท้องเสียจากเชื้อบิด ซึ่งจะทำให้หูแดงคัน หรือบิดเบี้ยว โรคติดเชื้อราบริเวณฟันของกระต่าย ฯลฯ กรณีที่เลี้ยงกระต่ายร่วมกับสุนัขและแมวควรนำมาฉีดวีคซีนป้องกันพิษสุนขบ้าด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถทำได้เมื่อกระต่ายอายุ 4 เดือนขึ้นไป หากในบ้านมีเด็กและใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

สายพันธุ์กระต่าย

สายพันธุ์กระต่าย!!


วันนี้เราจะมาแนะนำสายพันธุ์กระต่ายที่นิยมในปัจจุบันกันน่ะค่ะ ได้แก่        ^(++++++)^**

1. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (New Zealand White)


 เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่ เนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม

2.กระต่ายไทย


เป็น สายพันธุ์กระต่าย พื้นบ้านของประเทศไทย ลักษณะตัวใหญ่ มีหลากหลายสี ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะกลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง มื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม


3.พันธุ์แองโกร่า (Angora)



เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม

4.ไลอ้อนเฮดท์ (Lion head)



ลักษณะมาตรฐานของกระต่ายพันธุ์นี้ คือ
1. ลำตัว จะต้องสั้น กลมป้อม ไหล่และอกควรจะกว้าง ตะโพกต้องกว้าง กลม
2. หัว ต้องใหญ่ ระยะห่างระหว่างตา ต้องกว้าง หัวและตัวควรจะชิดกันไม่เห็นคอ ตาต้องกลมโต
3. หู ต้องสั้น อยู่บนส่วนบนของหัว ต้องตั้ง และ มีขนปกคลุมหู
4. แผงคอ เป็นขน Wool คือขนปุย และแผงคอต้องเด่น ทั้งด้านบน และด้านข้างหู ต้องมีความยาวของแผงคออย่างน้อย 2 นิ้ว แผงคอต้องเป็นแผงกลมรอบๆหัว ส่วนขนตรงหน้าและตัวจะไม่ใช่ขน Wool เหมือนแผงคอ


5.พันธุ์ดัตช์ (Dutch)


กระต่ายพันธุ์ดัตช์ นี้ว่ากันว่ามีมานานมาก ต้นกำเนิดเค้าอยู่ที่ฮอลแลนด์แต่มาฮิตกันที่อังกฤษ
ที่นิยมชมชอบกันก็คือมาร์คกิ้งค่ะคือลายค่ะจะต้องตรงตามมาตรฐานการเลือก ถ้าจะให้สวยล่ะก็ สีต้องตัดกันเป๊ะๆระหว่างสีขาวกับสีลาย ตัดกันเป็นเส้นชัดเจน แก้มต้องไม่ตอบ


6. เจอร์รี่วู๊ดดี้ทอย (Jerry Woody)


 ชื่อของเจอรี่ วู๊ดดี้ นั้นค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับผู้เลี้ยง เป็นอันมาก เนื่องจากไปฟังแล้วคล้ายกับ Jerry Wooly (เจอรี่ วูลลี่) ของต่างประเทศ อันที่จริงแล้ว เป็นคนละพันธุ์กัน เจอรี่ วู๊ดดี้ จะลักษณะคล้ายกับ Teddy แต่ว่า ขนที่หน้าจะสั้นกว่าเล็กน้อย และขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวจะใหญ่กว่า

7. เท็ดดี้แบร์ (Teddy Bear)


Teddy หรือ Teddy Bear เป็นกระต่ายที่เป็นลูกผสมเช่นกัน และได้พัฒนาสายพันธุ์กันมาต่อจาก เจอรี่ วู๊ดดี้ จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ จะนิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่า รูปร่างน่ารัก ตัวจะกลมฟู ขนจะฟูยาวประมาณ 4-5 นิ้ว

8. วู๊ดดี้ทอย (Woody Toy)


กระต่ายพันธุ์วูดดี้ ทอย นี้จะคล้ายกับ Teddy Bear มากเพราะว่า พัฒนาสายพันธุ์ต่อจาก Teddy Bear โดยทำให้มีขนาดเล็กลงไปอีก มองแล้วคล้ายกับเอา Teddy Bear มาหดให้เล็กลง เพราะว่า หน้าตาคล้ายกับ Teddy Bear เลย ลักษณะคือ หน้าตาจะเหมือน Teddy Bear เลย แต่หูจะสั้นกว่ามองเห็นคล้ายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า และเมื่อโตเต็มที่แล้วตัวจะเล็กกว่า Teddy Bear

9.โปลิส (Polish)


ชื่อมาจากคำว่า polished ซึ่งแปลว่า เป็นเงา เนื่องจากขนของเค้าจะเรียบเงานั่นเอง มีต้นกำเนิดที่เบลเยี่ยม และได้นำเข้าไปที่ อังกฤษ ในปี 1884 เป็นกระต่ายเล็ก ที่มีหูสั้น และ ปลายหูชนกัน เพราะขนาดที่เล็กและลักษณะใกล้เคียงกับ Netherland Dwarf จึงมีหลายๆคนสับสนกับ Netherland Dwarf แต่จริงๆ แล้ว เค้าจะใหญ่กว่า Netherland Dwarf เล็กน้อย และ หัวไม่กลมมนเหมือน Netherland Dwarf น้ำหนักประมาณ 1.4 to 1.8 กิโลกรัม


10. ฮอลแลนด์ล็อป (Halland Lop)

ลักษณะเป็น กระต่ายลอปที่ตัวเล็กที่สุดในบรรดาลอปทั้งหมด จะตัวเล็กที่สุด หน้าสวยที่สุด หน้าจะป้านกว่า ลอปพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญ ฮอลแลนด์ลอปนั้น หูจะต้องไม่ยาวมากหากวัดจากเส้นขากรรไกรลงมาแล้วไม่ควรยาวเกิน 1 นิ้วและขนยาวไม่เกิน 1 นิ้ว อุปนิสัยจะขี้เล่นขนาด 1.4 กิโลกรัม ถึง 1.8 กิโลกรัมถ้าหากได้ชื่อว่าสวยจะต้องมีลักษณะดังนี้ ลำตัว คือไหล่และอกควรจะกว้างแน่นและไหล่เทียบกันช่วงตะโพกควรจะได้ทรงไม่ป้าน หัว หน้าจะต้องป้าน แก้มป่อง หากลากเส้นระหว่างตา และ จมูกเป็นรูป 3 เหลี่ยม ควรจะได้เป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัว ซึ่งระยะของฐานสามเหลี่ยม(ระยะของ ตา 2 ข้าง) ควรจะกว้างกว่าระยะจากตามาจมูก หรืออย่างน้อยก็ควรจะเท่ากัน พูดง่ายๆคือหน้ายิ่งสั้น ยิ่งป้านยิ่งสวย และระยะห่างระหว่างตา ควรจะเท่ากับระยะระหว่างจมูกถึงหัว หู จะต้องตกข้างแก้มเลย ไม่ใช่กางเป็นปีกแมงปอ หรือว่า ตั้งข้างตกข้าง หูจะต้องกว้างกลม แล้วก็ยาวไม่เกิน 1 นิ้วจากแนวขากรรไกร ส่วนของ Crown หรือพู่ขนบนหัว Halland lop จะไม่ได้มีพู่ขนที่หัวยาวเป็นไลอ้อนและแนวจะอยู่แนวตา กับด้านหลังตา ส่วนของขาหน้า ควรจะตรงค่ะ และหนา

11. อิงลิซล็อป (English Lop)


เป็นกระต่ายลอปที่เท่ห์สุดๆ นอกจากหูจะตกแล้ว ยังใบหูยาวและใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะหนัก ประมาณ 5-5.5 กิโลกรัม จัดเป็นกระต่ายขนาดใหญ่

12. เฟรนซ์ล็อป หรือ แองโกล่าลอป (Fuzzy Lop)




ลักษณะก็คือกระต่ายหูตก ที่ขนปุยฟู นั่นเองว่ากันว่า Fuzzy Lop นี้เกิดจากการผสม ระหว่าง Halland Lops กับ Angora ค่ะ แต่บางตำราบอกว่า จริงๆแล้วเกิดจาก Hal land Lop เพียงอย่างเดียวค่ะ จนกระทั่งสายเลือดนิ่ง และได้รับการประกาศเป็นมาตรฐานโดย ARBA ในปีคศ 1988 การเลือก ควรเลือกที่ โครงหัวใหญ่ๆ หูจะต้องมีขนปกคลุม ขนควรจะยาวมากกว่า 2 นิ้ว

13. มินิล็อป (Mini lop)



หูจะไม่สั้นเหมือน Holland Lop และ หน้าจะไม่ป้านเท่า บางตัวหน้าออกแหลมด้วยซ้ำไป และโตเต็มที่แล้วตัวจะใหญ่กว่า ส่วนใหญ่แล้วตอนเล็กๆ หน้าตาจะดูสั้นค่ะ แต่เลี้ยงไปนานเข้าหน้าจะแหลมขึ้น อย่างเจ้าตัวเล็กในรูปด้านล่าง เมื่อโตขึ้น หน้าจะไม่กลมแล้วจะยาวขึ้นทำให้ส่วนที่ดูเหมือนแก้มหายไปเช่นเดียวกัน   ลักษณะที่สวยนั้นหูต้องตกลงข้างแก้มค่ะ ไม่ใช่กางเป็นปีแมงปอ หรือ ตั้งข้างตกข้าง เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม มีคนบอกว่า Mini lop ฉลาด