โรคต่างๆของกระต่ายและการป้องกัน
โรคพิซเชอร์
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุดอาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน
ฝีดาษ และ โรคเนื้องอก
โรคฝีดาษกระต่าย
โรคนี้มักเกิดกับกระต่ายก่อนหย่านม และ อาจจะทำให้อัตราการตายของ กระต่ายนั้นสูง โรคนี้เมื่อพบเจอแล้วการระบาด ค่อยข้างยากค่ะ แต่ก็ยังสามารถระบาดได้เหมือนกันค่ะ ซึ่งเราควรที่จะป้องกันไว้ก่อน โดยการพากระต่ายนั้น ไปฉีดวัคซีนค่ะ
โรคเนื้องอก
โรคนี้อาจจะเกิดจาก การติดเชื้อจากสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส เช่นยุงและแมลง ค่ะ ซึ่งโรคนี้ สามารถเกิดได้กับ กระต่าย เล็กและ กระต่ายที่โตแล้วค่ะ โดยกระต่ายเล็ก ถ้าเจอ อาจจะเห็นเป็น ตุ่มเล็กๆ ค่ะ การรักษาควรรีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์
โรคบิด
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ
การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )
โรคสแตฟฟิลโลคอคโคซีส
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus)
ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้
- ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูด เปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
- เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดแยกไว้ และควรรีบปริกษาสัตวแพทย์ด่วน การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
ฝี – หนองใต้ผิวหนังลักษณะอาการ คือการเกิดหนองตามอวัยวะต่างๆ นั้นส่วนมากจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) แต่ในส่วนที่เป็นหนองแล้วนั้น จะสามารถเห็นได้ชัดเจนคือ เยื่อ ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังนั้นบวม แต่จะไม่เป็นก้อนแข็งๆ
วิธีการรักษา สามารถรักษาได้โดยการผ่าส่วนบริเวณที่เป็นหนอง และ ให้บีบหนองออก แล้วจึงใช้ขี้ผึ้งซึ่งเป็นยา ปฏิชีวนะ จำพวกเพนนิซิลลิน หรือ พวก สเตรปโตมัยซินทาตามทีหลัง แต่ ถ้าเพื่อนๆ เจออาการ ประเภทนี้
ขอแนะนำ ว่าควรพาไปหาหมอจะดีกว่าค่ะ เพระาว่า กระต่ายเป็นสัตว์ที่ แพ้พวกสารพิษได้ง่าย ยาที่เราเอามาทานั้น ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่านะค่ะ
โรคพาสเจอร์เรลโลลิส
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida)
ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ดังนี้
- หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก
- ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
- ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
- อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
- มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่
โรคหวัด และ โรคปอดบวม
โรคหวัด
เกิดจาก แบทีเรีย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อที่บริเวณ โพรงจมูก โดยอาจจะติดเชื้อได้จากสัตว์มีที่เชื้อโรคอยู่แล้ว หรือ อาจจะติดเชื้อที่ปะปนมากับอากาศ
อาการ คือ จะมีน้ำมูก หรือหนองเกิดขึ้นที่บริเวณจมูก ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ เชื้อที่ได้รับ คือ ถ้ากระต่ายได้รับเชื้อมากก็ ก็จะมีอาการมากกว่า ตัวที่ได้รับเชื้อน้อย รวมทั้งสภาพความสมบูรณ์ของกระต่ายด้วย คือ ถ้ากระต่ายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมี ภูมิต้านทานดี ก็อาการ็จะน้อยลง
โรค ปอดบวมโรคปอดบวมเป็นโรคที่เกิดขึ้นที่บริเวณส่วนการหายใจ ตอนบนซึ่ง ซึ่งต่อมาอาจจะมีการแพร่กระจายลงสู่ปอดจึงทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งโรคปอดบวมมีส่วนทำให้กระต่ายตายอยู่มาก
อาการ ของกระต่ายที่เป็นโรคนี้ก็ คือระบบการหายใจจะบกพร่อง คือ การหายใจจะติดขัด มีอาการซึม มีน้ำมูกไหลและอุณหภูมิในร่างการสูงจนเกินไป ซื่งเมื่อเราสังเกตที่ปอดของเขาจะมีลักษณะ เป็นสีแดง และ อาจจะแข็งเป็นสีม่วง และอาจจะมีหนองเกิดขึ้นที่ส่วนของปอด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็เหมือนกันกับโรคหวัด
สาเหตุ ของการเกิดโรคทั้งสอง สาเหตุหลักๆของการเกิดโรคทั้งสองนี้ก็ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์อื่นๆที่เป็นโรคนี้หรือว่า มีเชื้อ ของโรคนี้อยู่ หรือ อาจจะเกิดจากความเครียด ซึ่งอาจจะทำให้อุณหภูมิ และ ความชื้นของร่างกาย นั้นสูง จึงทำให้เป็นโรคหวัด หรือ โรคปอดบวมได้ง่าย
ซึ่งถ้ากระต่ายที่ไม่มีความสมบูรณ์ หรือ ภูมิต้านทานโรคที่ดีแล้ว ก็อาจจะเป็นโรคพวกนี้ได้ง่าย
หูอักเสบ และ เยื่อตาขาวอักเสบ
หูอักเสบ
เกิดจาก การติดเชื้อของ หูชั้นกลาง และ อาจจะทำให้โพรงหูชั้นการนั้นติดเชื้อและเป็นหนอง ซึ่ง ถ้าเชื้อได้แพร่กระจายเข้าไป ทางด้านหูชั้นใน อาจจะทำให้ กระต่ายนั้นเป็นโรคเสียสมดุล และ เป็นโรค คอเอียง
การรักษา ควรจะพาไปพบแพทย์ เมื่อ ได้กลิ่นเหม็นภายในหูของกระต่าย หรือเมื่อ รู้ว่าหูนั้นมีอาการอักเสบ หรือ เป็นหนอง
การรักษา อาจจะทำได้ยาก เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่ค่อนข้างมองเห็นไม่ค่อยชัด
เยื่อตาขาวอักเสบ
เกิดจาก การติดเชื้อบริเวณรอบๆ ดวงตา หนังตา ซึ่งอาจจะมีอาการบวม และอาจจะมีของเหลวที่รอบๆดวงตา
การรักษา เมื่อพบเห็นว่ามีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ หรือ พาไปพบเพทย์
มดลูกอักเสบ – ลูกอัณฑะอักเสบ
มดลูกอักเสบ ( Pyometra or Metritis )
โรคนี้จะเกิดจาก เชื้อพาสเจอเรลล่า ซึ่งทำให้ผนังของมดลูกนั้นเป็นหนอง และอาจจะเกิดการพองตัวขึ้นซึ่งกระต่ายที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ ซึ่งการติดเชื้อนั้น อาจจะติดมาจากเวลา หรือ ช่วงขณะที่ผสมพันธุ์ และอาจจะติดตัวผู้อีกด้วย ซึ่งการใช้ยาสำหรับโรคนี้อาจจะยังไม่ได้ผลเท่าใหร่นัก เนื่องจากระต่ายที่ติดเชื้อนั้นสามารถสังเกตได้ยาก เมื่อกระต่ายนั้นตายไปแล้ว และ ได้ตรวจพบภายหลัง
ลูกอัณฑะอักเสบ ( Orchitis )อาจจะติดเชื้อมาจากกระต่ายตัวเมีย หรือไม่ถ้า กระต่ายตัวผู้ที่เป็น ถ้านำไปผสมพันธุ์อาจจะนำเชื้อไปติดให้กับกระต่ายตัวเมีย เช่นกัน ซึ่งเชื้อที่เกิดจะอยู่บริเวณของ ลูกอัณฑะ ส่วนมากจะสังเกตได้ยาก
การป้องกัน
การป้องกันโรคของกระต่ายทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่
1. เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง
2. ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
3. หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น
4. ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น